คำแนะนำในการใช้บล็อก

1. หาบทความไม่เจอ ลองกดที่labelด้านล่างดูโดยใช้keywordที่มี
2. อยากรู้ว่าเมื่อไรอัพเดต ก็สมัครสมาชิกไว้จะได้ติดตามง่ายๆผ่านทางอีเมล์
3. หากต้องการโหลดไฟล์อย่างเดียวดูที่ TWITTER UPDATES จะช่วยให้หาง่าย
4. หากต้องการแสดงความเห็นในแต่ละpost ก็พิมพ์ลงในกล่องด้านล่าง(Post a Comment)เลือกComment as เป็นname
5. Please READ: Privacy Policy Template

ยาสามัญประจำบ้าน

Posted by CURXCOM Monday, August 31, 2009 0 comments

ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาแผนปัจจุบัน หรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรี ประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ด้านล่างนี้ เป็นรายการของยาสามัญประจำบ้าน ที่เป็นยาแผนปัจจุบันทั้งหมด

ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
ยาน้ำลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์
ยาขับลม
ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์

ยาแก้ท้องเสีย
ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่

ยาระบาย
ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับเด็ก
ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่
ยาระบายแมกนีเซีย
ยาระบายมะขามแขก
ยาระบาย โซเดียม คลอไรด์ ชนิดสวนทวาร

ยาถ่ายพยาธิลำไส้
ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล

ยาบรรเทาปวด ลดไข้
ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้แอสไพริน
ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 500 มก.
ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 325 มก.
ยาน้ำบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล
พลาสเตอร์บรรเทาปวด

ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
ยาเม็ดแก้แพ้ ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

ยาแก้ไอ ขับเสมหะ
ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะสำหรับเด็ก
ยาแก้ไอน้ำดำ

ยาดมหรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก
ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก
ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง

ยาแก้เมารถ เมาเรือ
ยาเม็ดแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

ยาสำหรับโรคตา
ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
ยาล้างตา

ยาสำหรับโรคปากและลำคอ
ยากวาดคอ
ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
ยาแก้ปวดฟัน
ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ
ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ

ยาใส่แผล ล้างแผล
ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
ยาใส่แผล โพวิโดน-ไอโอดีน
ยาไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์
ยาเอทิล แอลกอฮอล์
น้ำเกลือล้างแผล

ยารักษาแผลติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ยารักษาแผลติดเชื้อ ซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม

ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย
ยาหม่อง ชนิดขี้ผึ้ง

ยาสำหรับโรคผิวหนัง
ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน
ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
ยารักษาเกลื้อน โซเดียม ไทโอซัลเฟต

ยาบำรุงร่างกาย
ยาเม็ดวิตามินบีรวม
ยาเม็ดวิตามินซี
ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
ยาเม็ดวิตามินรวม
น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล
น้ำมันตับปลาชนิดน้ำ

ที่มา กองควบคุมยา




ninja words เวบค้นศัพท์ที่มีหน้าค้นหาเรียบง่ายจริงๆ สะอาดตาดี พอเรากดค้นก็จะแสดงคำศัพท์เลยไม่ต้องรีโหลดหน้าเพจ นอกจากนั้นยังหาได้ทีละมากกว่า1คำ มีhistoryคำศัพท์ที่เคยค้นไปแล้วด้วย นอกจากนั้นหากไม่รู้จะค้นคำไหนก็ให้มันสุ่มมาให้ได้อีกด้วย โดยฐานข้อมูลคำศัพท์ของเว็บนี้ได้มาจาก Princeton WordNet project และ wiktionary ...มาหาความรู้สไตล์นินจากันเถอะ ^__^



ใบท่อง Cog รวมทุกไฟล์ กดโหลดที่นี่ (แก้ตัวที่ขาดแล้ว)
Crude drugs'52 part 1 2 3 แบบสไลด์มีรูป แบบpdf
Crude drugs'52 part 1 2 3 แบบสไลด์มีรูป แบบjpg

Complexometric Titration

Posted by CURXCOM Saturday, August 29, 2009 0 comments


การไทเทรตสำหรับปฏิกิริยาการเกิดสารเชิงซ้อน (Complexometric titration)*
หลักการของ complexometric titration เป็นการไตเตรทเพื่อหาปริมาณ metal ion โดยการเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างไอออนของโลหะ ซึ่งเป็นตัวรับอิเลคตรอนกับสารที่สามารถให้คู่อิเลคตรอนกับโลหะได้ ในสารละลายที่ถูก buffered ให้มี pH อยู่ในช่วงที่เหมาะสม อินดิเคเตอร์ที่ใช้จะถูกเติมลงไปในสารละลายนี้ แล้วไอออนของโลหะจะถูกไตเตรทด้วยสารละลายมาตรฐานของ complexing agent และเมื่อถึงจุดยุติควรสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงสีได้ชัดเจน การตรวจวัดจุดยุติอาจทำได้ทั้ง physical method และ chemical method การไตเตรทโดยวิธีนี้จะทำได้ง่าย สะดวกและมีความถูกต้อง ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนามาใช้แทนการวิเคราะห์โดย gravimetric method ซึ่งวิเคราะห์ไอออนโลหะได้หลายชนิด

    * หลักการนี้ ไม่สามารถใช้วิเคราะห์โลหะ alkali metal ได้
    * Analyte: metal ion ที่มี valency > 1 เช่น Al3+, Cu2+
    * Titrant: Chelating agent หรือ complexing agent หรือ Ligand เช่น EDTA
    * Complex : Chelate
    * การวัดจุดยุติ : Indicator หรือ potentiometric method

A technique of volumetric analysis in which the formation of a colored complex is used to indicate the end point of a titration. Also known as chelatometry. Also spelled compleximetric titration.

Complexometric titration (sometimes chelatometry) is a form of volumetric analysis in which the formation of a colored complex is used to indicate the end point of a titration. Complexometric titrations are particularly useful for the determination of a mixture of different metal ions in solution. An indicator capable of producing an unambiguous color change is usually used to detect the end-point of the titration.

การจะเลือกใช้ complexometric titration method ในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะชนิดต่าง ๆ ได้นั้นต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ดังนี้
1. Complex reaction ต้องเป็น stoichiometrically กล่าวคือ metal ion ต้องทำปฏิกิริยากับ chelating agent ในอัตราส่วนที่แน่นอน
2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาต้องเร็ว
3. สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นต้องมีความคงตัวดี ค่าคงที่ของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนต้องสูง
4. มี sharp end point กับอินดิเคเตอร์ คือสังเกตจุดยุติได้ชัดเจน เมื่อเติม titrant excess ปริมาณเล็กน้อย titrant นั้น ก็สามารถทำปฏิกิริยากับอินดิเคเตอร์แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงสีที่ชัดเจน
5. ไม่เกิดตะกอนระหว่างการไทเทรต เพราะจะทำให้สังเกตเห็นปฏิกิริยา หรือสีของจุดยุติได้ไม่ชัดเจน

Ligand, Chelating Agent, Complexing Agent
- โมเลกุลที่เป็นกลางหรือมีประจุลบที่สามารถให้คู่ electron กับ central atom
- โมเลกุลหรือสารที่ประกอบด้วยอะตอมอย่างน้อย 1 อะตอมที่มีอิเล็คตรอนคู่หนึ่งเป็นอิสระ (unshared pair of electron) สามารถให้อิเล็คตรอนกับโลหะได้ ligand อาจเป็นโมเลกุลที่ไม่มีประจุเช่น แอมโมเนีย หรือเป็นประจุลบ เช่น เฮไลด์ ไฮดรอกไซด์ ซัลเฟตและฟอตเฟต เป็นต้น
- ในโมเลกุลมีอะตอมของธาตุที่สามารถให้คู่ electron ได้ เช่น O, N, X (halogen) และ S เป็นต้น
- -NH2 และ –COO- เป็นหมู่ที่ให้ e- ได้ดี
- Lewis base

แบ่ง ligand ได้ตามจำนวนหมู่ที่ให้อิเล็คตรอนอิสระคู่หนึ่งซึ่งมีอยู่ใน 1 โมเลกุลของ ligand ที่สามารถจับกับโลหะ
1. Unidentate or Monodentate Ligand เป็น ligand ที่มีหมู่ซึ่งให้อิเล็คตรอนอิสระเพียงคู่เดียวใน 1 โมเลกุล ตัวอย่างเช่น เฮไลด์ อิออน (Cl-, I-), CN- และแอมโมเนีย (NH3), H2O
ลักษณะการจับกันระหว่าง unidentate ligand กับโลหะที่มี coordination number 6 มีโครงสร้างเป็น octahedral        

2. Bidentate ligand เป็น ligand ที่มีหมู่ซึ่งให้อิเล็คตรอนคู่หนึ่งซึ่งไปจับกับโลหะอยู่ 2 หมู่ใน 1 โมเลกุล ตัวอย่างเช่น ethylenediamine, ethylenediphosphine(diphos), bipyridyl(bipy)

Bidentate ligands have two lone pairs, both of which can bond to the central metal ion. The two commonly used examples are 1,2-diaminoethane (old name: ethylenediamine - often given the abbreviation "en"), and the ethanedioate ion (old name: oxalate).

3. Multidentate ligand หรือ polydentate ligand เป็น ligand ที่ใน 1 โมเลกุลมีหมู่ที่ให้ อิเล็คตรอนอิสระคู่หนึ่งมากกว่า 2 หมู่ ถ้า ligand มีหมู่ซึ่งให้อิเล็คตรอนอิสระคู่หนึ่งอยู่ 3 หมู่ใน 1 โมเลกุลเรียกเป็น tridentate ligand ส่วน ligand มีหมู่ซึ่งให้อิเล็คตรอนอิสระคู่หนึ่งอยู่ 4 หมู่ใน 1 โมเลกุลเรียกเป็น quardridentate ligand

A quadridentate ligand
A quadridentate ligand has four lone pairs, all of which can bond to the central metal ion. An example of this occurs in haemoglobin (American: hemoglobin). The functional part of this is an iron(II) ion surrounded by a complicated molecule called heme. This is a sort of hollow ring of carbon and hydrogen atoms, at the centre of which are 4 nitrogen atoms with lone pairs on them.
Heme is one of a group of similar compounds called porphyrins. They all have the same sort of ring system, but with different groups attached to the outside of the ring.
Each of the lone pairs on the nitrogen can form a co-ordinate bond with the iron(II) ion - holding it at the centre of the complicated ring of atoms. The iron forms 4 co-ordinate bonds with the haem, but still has space to form two more - one above and one below the plane of the ring. The protein globin attaches to one of these positions using a lone pair on one of the nitrogens in one of its amino acids. The interesting bit is the other position.  Overall, the complex ion has a co-ordination number of 6 because the central metal ion is forming 6 co-ordinate bonds. The water molecule which is bonded to the bottom position in the diagram is easily replaced by an oxygen molecule (again via a lone pair on one of the oxygens in O2) - and this is how oxygen gets carried around the blood by the haemoglobin. When the oxygen gets to where it is needed, it breaks away from the haemoglobin which returns to the lungs to get some more. You probably know that carbon monoxide is poisonous because it reacts with haemoglobin. It bonds to the same site that would otherwise be used by the oxygen - but it forms a very stable complex. The carbon monoxide doesn't break away again, and that makes that haemoglobin molecule useless for any further oxygen transfer.

A hexadentate ligand
A hexadentate ligand has 6 lone pairs of electrons - all of which can form co-ordinate bonds with the same metal ion. The best example is EDTA. EDTA is used as a negative ion - EDTA4-




Source kku.ac.th Answers.com wiki Cyberclass Chemguide

Manga NOW Week290809

Posted by CURXCOM 0 comments

การ์ตูนประจำสัปดาห์นี้รวมไว้ที่หน้าเดียวเลยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจาก Onemanga และ Cartooniverse
NARUTO 461 EN TH
BLEACH 371 EN TH
ONEPIECE 555 EN TH

Fajans method

Posted by CURXCOM Thursday, August 27, 2009 0 comments

Fajans method เป็นหนึ่งในการไทเทรตโดยวิธีทำให้ตกตะกอนในรูปของเกลือของซิลเวอร์ หรือที่เรียกว่า Argentimetry

In the Fajans method, typically dichlorofluorescein is used as an indicator; the end-point is marked by the green suspension turning pink. Prior to the end-point of the titration, chloride ions remain in excess. They adsorb on the AgCl surface, imparting a negative charge to the particles. Past the end-point, excess silver(I) ions adsorb on the AgCl surface, imparting a positive charge. Anionic dyes such as dichlorofluorescein are attracted to the particles, and undergo a color change upon adsorption, representing the end-point. Eosin (tetrabromofluorescein) is suitable for titrating against bromide, iodide, and thiocyanate anions, giving a sharper end-point than dichlorofluorescein. It is not suitable for titrating against chloride anions because it binds to AgCl more strongly than chloride does.

Adsorption indicators can be used in many precipitation titrations, not just argentometric methods. Let’s imagine that we wish to analyte Cl− in a sample solution by titrating with Ag+; the titration reaction would be Ag+ + Cl− <-> AgCl(s)
Silver chloride forms colloidal particles. Before the equivalence point, the surface of the precipitant particles will be negatively charged due to the adsorption of excess Cl− to the surface of the particles. A diffuse positive counter-ion layer will surround the particles. When the equivalence point is reached, there is no longer an excess of analyte Cl−, and the surface of the colloidal particles are largely neutral. After the equivalence point, there will be an excess of titrant Ag+, some of these will adsorb to the solid AgCl particles, which will now be surrounded by a diffuse negative counterion layer. Adsorption indicators are dyes, such as dichlorofluorescein, that usually exist as anions in the titration solution. The doubly charged dichlorofluoroscein anion is attracted into the counterion layer immediately
following the equivalence point, when the surface charge of the particles changes from negative to positive. For reasons that are not fully understood, the closer proximity of the dye to the particles changes the color of the molecule, providing a visual indication of the titration endpoint. In the case of dichlorofluorescein, the indicator changes to a pinkish color.

Fajan’s Method 
หลักการคือ ที่จุดยุติ ตะกอนจะดูดซับอินดิเคเตอร์ไว้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีของตะกอน โดยใช้Fluorescein เป็นอินดิเคเตอร์

ปัจจัยที่มีผลต่อการไทเทรต
- Indicator ต้องแตกตัวที่ pH ที่ทำการทดลอง
- พื้นที่ผิวของตะกอน ควรเติม dextrin, gelatin agar, PEG 400
- แสงสว่าง ทำให้สารสลายตัวง่าย
- การคนหรือการเขย่า ไม่ควรเขย่าแรงเกินไป 


คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
Adsorption indicator
A substance which is adsorbed or desorbed with concomitant colour change at or near the equivalence point of a titration.

Source: wiki cyberclass IUPAC Compendium of Chemical Terminology Skoog, West and Holler

กำลังเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างหาข้อมูล): สารเคมีที่เกี่ยวข้องและคุณสมบัติของสาร, แก้ไขข้อความภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย

BENZODIAZEPINES

Posted by CURXCOM Tuesday, August 25, 2009 1 comments


ยา Benzodiazepine ตัวแรกที่นำมาใช้คือ Chordiazepoxide ถัดมาคือ Diazepam ซึ่งเป็นยาที่ใช้กว้างขวางกันในปัจจุบัน ยากลุ่มนี้ ส่วนมากมีฤทธิ์หลายอย่างทั้งเป็นยานอนหลับ คลายกังวล ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว แก้ชัก แต่บางตัวก็มีข้อบ่งใช้เฉพาะ เช่น Flurazepam มักใช้เป็นยานอนหลับเท่านั้น เพราะมีฤทธิ์อย่างอื่นน้อย

Benzodiazepines เป็นกลุ่มยานอนหลับ และยาคลายเครียดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีอาการข้าง เคียงน้อย ยากลุ่มนี้จะมี analog หลายตัวที่เป็น prototype คือ diazepam

BENZODIAZEPINES — Benzodiazepines decrease the time to onset of sleep and prolong the first two stages of sleep. They slightly reduce the relative amount of deep non-rapid eye-movement sleep.

Benzodiazepines
-Chlorodiazepoxide (Librium® )
-Diazepam (Valium® )
-Oxazepam (Serax® )
-Lorazepam (Ativan® )
-Clobazam (Frisium® )
-Clorazepate (Tranxene® )
-Alprazolam (Xanax® )

กลไกการออกฤทธิ์
-ออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง จึงมีฤทธิ์ทำให้หลับได้ดี
-การออกฤทธิ์คลายกังวลแตกต่างจากการทำให้สงบง่วงซึม และการทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ผลจากการง่วงซึม และกล้ามเนื้อคลายตัวช่วยในการคลายกังวลด้วย
-จากการศึกษาพบว่าสารสื่อประสาท GABA จะจับกับตำแหน่งเฉพาะที่อยู่บน GABA-A receptor ซึ่ง GABA-A receptor นี้ ประกอบด้วย subunit ต่างๆ ที่สำคัญคือ alpha, beta, และ gamma โดย subunit ทั้งสามประกอบกันทำหน้าที่เป็น Channels สำหรับ chloride ion ผ่านเข้าออกเซลล์, GABA จะจับกับ GABA-A receptors ตรง alpha, และ beta subunits ทำให้มีการผ่านเข้าของ Chloride สู่เซลล์ และทำให้เซลล์ประสาทสงบ

การดูดซึม การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย และการขับถ่าย
-ส่วนมากถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้เร็ว midazolam ออกฤทธิ์เร็วมากหลังรับประทาน triazolam และ diazepam ก็ออกฤทธิ์เร็วเช่นกัน lorazepam และ chlordiazepoxide มีอัตราการดูดซึมปานกลาง ส่วน oxazepam ออกฤทธิ์ช้า
-diazepam, midazolam และ triazolam ละลายในไขมันได้ดี จะเข้าระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ได้เร็ว
-การจับกับโปรตีนในเลือดแตกต่างกันมาก diazepam และ midazolam จับกับโปรตีนได้มาก ประมาณ 97% flurazepam จับได้เพียง 2-3%
-การเมตาบอลิสม์เกิดที่ตับเป็นส่วนใหญ่ โดยเมตาบอไลท์บางตัวมีฤทธิ์ ดังนั้นระยะเวลาออกฤทธิ์ของยาจึงขึ้นกับเมตาบอไลท์ด้วย desmethyldiazepam เป็น active metabolite ของหลายตัวเช่น diazepam, chlordiazepoxide มีฤทธิ์ยาวกว่าตัวมันเอง โดยมี half life 30-60 ชั่วโมง, desmethyldiazepam ถูกเมตาบอไลซ์ต่อได้ oxazepam ซึ่งมีฤทธิ์สั้น half life ประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อจากนั้นจะถูก glucuronide conjugation และหมดฤทธิ์ ถูกขับออกทางปัสสาวะ
-ยาที่อาศัย glucuronide conjugation ในการทำให้หมดฤทธิ์ไม่จำเป็นต้องพึ่งตับอย่างเดียว ดังนั้นถ้าตับเสีย เช่นในคนแก่หรือคนที่เป็นโรคตับแข็ง จึงควรใช้ยาพวกนี้ ซึ่งได้แก่ oxazepam และ lorazepam จะไม่ทำให้ half life ยาวขึ้น diazepam ในคนอายุ 20 ปี มี half life ประมาณ 20 ชั่วโมง แต่ถ้าอายุ 80 ปี จะเป็นประมาณ 90 ชั่วโมง หรือโรคตับแข็งจะเป็น 46-105 ชั่วโมง หรือถึง 164 ชั่วโมง ในบางรายงาน flurazepam มี half life สั้น แต่เมตาบอไลท์ของมันมีฤทธิ์ยาว จึงทำให้ฤทธิ์ของ flurazepam ยาว พบ hangover ได้บ่อย midazolam มี half life สั้นมาก เพียง 1-4 ชั่วโมง triazolam และ lorazepam ก็มีฤทธิ์สั้น
-benzodiazepine ผ่านจากเลือดแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้ดีและเร็ว ในระยะครรภ์แก่ระดับความเข้มข้นในเลือดทารกของ benzodiazepine ส่วนมากสูงพอๆ กับในเลือดแม่ ทำให้เกิดอาการกดประสาทในลูกที่กินนมแม่ ซึ่งกินยาติดต่อกันในขนาดสูงได้ lorazepam ผ่านไปสู่น้ำนมได้น้อย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
กดระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทำให้ง่วง หลับ คลายกังวล กล้ามเนื้อคลายตัว และแก้ชัก ขนาดสูงทำให้สลบหรือถึงโคม่า เมื่อระบบประสาทส่วนกลางถูกกด จะมีผลเสียต่อการทำงานและจิตใจ คนที่มีอาการกังวลอาจไม่เห็นชัดเพราะเมื่ออาการกังวลหายไป อาจบดบังผลเสียที่เกิดจากยา ขนาดที่ทำให้หลับทำให้มีอาการเหมือนคนเมา บังคับอารมณ์ไม่อยู่หรือตื่นเต้นในบางคน การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อเสียไป ที่เห็นชัดๆ คือเดินเซ ในคนแก่อาจทำให้รู้สึกสับสน การทำงานของจิตใจเสื่อมลง

benzodiazepine มีผลต่อ normal sleep pattern กด REM sleep

benzodiazepine ไม่ใช้เป็นยาสลบ เพราะไม่ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อพอเพียงต่อการผ่าตัด ต้องใช้ร่วมกับยาอื่น ในขนาดใกล้สลบ ทำให้ความจำในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างนั้นเสียไป

อาการไม่พึงประสงค์
-oversedation อาจเกิดขึ้นได้เมื่อให้ benzodiazepine ร่วมกับยาอื่นที่กดระบบประสาทส่วนกลางเหมือนกับ เช่น ยากล่อมอารมณ์ ยาแก้แพ้ และที่สำคัญคือแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์เพิ่มการดูดซึมของ benzodiazepine และมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเหมือนกัน
-ในบางรายแทนที่จะสงบลงกลับทำให้มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด benzodiazepine ที่มีฤทธิ์แก้ชักบางครั้ง กระตุ้นการทำงานจนเกิดชักได้ในคนไข้ลมชัก และชนิดที่มีฤทธิ์คลายกังวลอาจทำให้อารมณ์รุนแรงดุร้าย หรือมีความระแวง เศร้า ซึม อยากฆ่าตัวตาย อาการทางจิตนี้ยังไม่แน่ว่ายาทำให้เกิดเองโดยตรง หรือยาไปกระตุ้นความผิดปกติที่มีอยู่ก่อนแล้วให้แสดงออก
-อาการข้างเคียงอื่นที่อาจพบจาก benzodiazepine ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาพร่า วิงเวียน ปากแห้ง ลิ้นขม คลื่นไส้ อาเจียน อึดอัดบริเวณลิ้นปี่ ท้องเสีย และที่พบยากได้แก่ ปวดข้อ เจ็บหน้าอก กั้นการขับถ่ายไม่ได้
-Hangover ซึ่งเป็นความรู้สึกมึนงงในเช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากรับประทานยานอนหลับอาจพบได้จากการใช้ยาที่มี half-life ยาว
-ความผิดปกติของทารกแรกเกิด อาจเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ benzodiazepine ในระยะครรภ์อ่อน
-การดื้อยา เกิดได้เร็ว ฤทธิ์ในการแก้ชักเกิดได้เร็วมาก เร็วกว่าฤทธิ์ในการทำให้หลับ และฤทธิ์แก้กังวล ฤทธิ์ยาในการทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวก็มีการดื้อยาด้วย จึงไม่ควรให้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่อมีการดื้อต่อ benzodiazepine จะดื้อต่อ methaqualone barbiturate , และ ethanol ด้วย
-เสพติดได้ ถ้าหยุดยาหลังจากใช้มานาน จะเกิดอาการตรงข้ามกับฤทธิ์ของมัน เช่น นอนไม่หลับจากยาที่มีฤทธิ์ทำให้หลับ หงุดหงิดจากยาที่มีฤทธิ์แก้กังวล เป็นต้น อาการอื่นๆ มีหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก คลื่นไส้ มือสั่น กล้ามเนื้อบิดตัว เศร้า ซึม ประสาทหลอน อาการจิตเภท ชัก ถ้าใช้ยามานานควรค่อยๆ ลดขนาดยาลง พวกที่มีฤทธิ์สั้นมักจะมีอาการได้บ่อย

Adverse Effects– Longer-acting benzodiazepines may impair daytime performance. In addition, complex sleep-related behaviors (sleep-walking, sleep-eating, sleep-driving, sleep-sex, making telephone calls, or surfing the internet without conscious awareness) and anterograde amnesia, particularly with triazolam, may occur with benzodiazepine-induced sleep. Aggressive behavior has also been reported. Some studies have reported an increased incidence of falls and hip fractures in elderly patients treated with benzodiazepines, but others have found that untreated insomnia itself increases the risk of falls. Lethal overdose with oral benzodiazepines taken alone occurs rarely, if ever; fatalities almost always involve concurrent use of alcohol or other CNS depressants. All benzodiazepines are schedule IV controlled sub-stances. Dependence, tolerance, abuse and “rebound” insomnia can occur.

กลไกการเกิดพิษ

Benzodiazepines ออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์ของ GABA ซึ่งจะมีผลยับยั้งการทำงานของ neuron ในระบบประสาทส่วนกลาง ยากลุ่มนี้ใช้ในทางคลินิกเป็นยานอนหลับและยาคลายเครียด ยาคลายกล้ามเนื้อและยารักษาโรคลมชัก มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันที่เภสัชจลนศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง half-life ของการกำจัดยา ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับ half-life ของการกำจัดยา โดยสามารถแบ่ง กลุ่มยาBenzodiazepine เป็น ยาที่ออกฤทธิ์สั้น ปานกลาง หรือยาว ขนาดของยาที่ทำให้เป็นพิษก็แตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของยาและบุคคลแต่ละคน โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีอาการพิษจากยาเมื่อได้รับยานั้นๆ เข้าไปปริมาณเป็นหลายเท่าของขนาดยาที่ใช้ในการรักษา

อาการพิษ
หลังจากที่ผู้ป่วยรับประทานยาเข้าไปแล้วจะมีอาการง่วงซึม อาการจะเริ่มต้นภายใน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ในระยะแรกอาจจะมีอาการตื่นเต้นร่วมด้วย หลังจากนั้นจะค่อยๆซึมลง พูดจาวกวน ถ้าเป็นมากจะซึมจนหมดสติได้ และไม่มี localizing signs อื่นๆ ร่วมด้วย โดยทั่วไป coma มักจะไม่มากและไม่กดการหายใจ ผู้ป่วยที่หมดสติและมี cardiopulmonary arrest นั้นพบน้อย มักจะเกิดร่วมในผู้ป่วยที่ได้รับยาอื่นๆที่กดระบบประสาทส่วนกลางอีกหลายตัว เช่น tricyclic antidepressant หรือ alcohol

ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการฉีดยาเช่น diazepam เข้าหลอดเลือดดำโดยตรง หรือระยะหลังมีรายงานผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหลายราย เนื่องจากหยุดหายใจโดยการได้รับยาเกินขนาด โดยเฉพาะจะเป็นยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น เช่น triazolam และ midazolam เป็นต้น การเจาะหาระดับยา benzodiazepines ในเลือดนั้นอาจจะช่วยในการวินิจฉัยโดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาหลายตัว หรืออาจช่วยบอกความรุนแรงของการเป็นพิษและช่วยติดตามผลการรักษาได้

การรักษา
การรักษาภาวะเป็นพิษจาก benzodiazepines คือให้การรักษาแบบประคับประคองผู้ป่วยทั่วไป โดยเฉพาะการดูแลการหายใจ ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และพิจารณาลดการดูดซึมของยา ส่วนการเพิ่มการขับถ่ายยาออกจากร่างกายนั้น มีการศึกษาพบว่าการให้ activated charcoal 30 กรัม ผสมน้ำรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงนั้น อาจจะช่วยเพิ่มการขจัดยาออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเร็วๆ ร่วมกับการฉีดยาขับปัสสาวะ furosemide ไม่ได้ ช่วยให้การขับยาออกจากร่างกายเร็วขึ้นเลย เนื่องจากยา benzodiazepines จะถูกขับออกจากร่างกายทางตับ นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ป่วยต้องปัสสาวะบ่อยๆ เป็นการรบกวนผู้ป่วยซึ่งอยู่ในภาวะ stress อยู่แล้ว

ยาต้านพิษ
ยาต้านพิษเฉพาะของ benzodiazepines คือยา flumazenil (Anexate 0.5 มก./5 มล.) ยา flumazenil จะไปจับกับ benzodiazepine receptor แบบ competitive inhibition โดยเข้าไปแย่งที่ benzodiazepines และสามารถแก้ฤทธิ์ของ benzodiazepine ได้ ขนาดที่ให้ 0.1 มก. ทางหลอดเลือดดำทุกๆ 1 นาที จนผู้ป่วยตื่น โดยทั่วไปใช้ประมาณ 0.2 มก.แต่บางรายอาจต้องให้มากถึง 1 มก. ผู้ป่วยมักฟื้นภายใน 5 นาที

ข้อควรระวัง
Flumazenil มี half-life ประมาณ 1 ชั่วโมง ดังนั้นการให้ยา flumazenil ในผู้ป่วยที่ได้รับ benzodiazepines ที่มี half-life ยาวเช่น diazepam อาจจะเป็นปัญหา เพราะการให้ยาแต่แรกจะดูเหมือนผู้ป่วยจะตื่นเป็นปกติ แต่พอฤทธิ์ของ flumazenil หมดลง เพราะ half-life สั้นกว่า diazepam ทำให้ผู้ป่วยกลับไปมีอาการเป็นพิษอย่างเดิมอีก นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับ flumazenil อาจจะมีอาการ rebound anxiety ในรายที่เคยมีอาการชักมาก่อน โดยจะถูกกระตุ้นจนชักขึ้นมาอีกได้ ในผู้ป่วยที่ติดยาbenzodiazepines ถ้าได้รับ flumazenil ก็อาจมีอาการชักได้เช่นกัน Flumazenil ยังมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยสาเหตุของผู้ป่วยที่ coma ว่าเป็นจาก benzodiazepines หรือไม่ ถ้าเป็นจากพิษของยา benzodiazepines หลังฉีดยา flumazenil ผู้ป่วยควรจะฟื้น ถ้ายังไม่ฟื้น อาจต้องคิดถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิด coma ต่อไป แต่ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีกับโอกาสที่จะเกิดอาการชักจาก flumazenil

ประโยชน์ทางคลินิก
1. ช่วยทำให้หลับ
2. คลายกังวล
3. ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
4. แก้ชัก
5. ให้ก่อนวางยาสลบ และช่วยในการวางยาสลบ
6. ใช้ในรายที่เลิกการดื่มเหล้าแล้วมีอาการขาดจากเหล้า

ที่มา Osotsala DMSC Toxicology Centers Medletter

Crude drugs ชุดที่2 ที่ตอนแรกว่าจะไม่ทำต่อสุดท้ายก็ทำออกมาจนได้ หวังว่าคงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย
ขอขอบคุณซินที่ให้ยืมกล้องในการถ่ายรูปเช่นเดิม download ฉบับสมบูรณ์ กดเบาๆที่นี่ เพิ่มlink drop.io
สุดท้ายภูมิใจนำเสนอในรูปแบบรูปภาพทั้งpart 1 และ 2 เหมาะสำหรับลงมือถือเป็นอย่างยิ่ง
โปรดเสนอข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุง



Crude Drugs ไฟล์จากComในห้องLab

Posted by CURXCOM Sunday, August 23, 2009 0 comments

รวมไฟล์ที่เป็นภาพจากComในห้องแลบ ใช้Browserในการเปิดดู ต้องรวมไฟล์ 6ไฟล์ด้วยกันโดยใช้โปรแกรมZip

Crude Drugs ภาพจากComในห้องLab ไฟล์1/6
Crude Drugs ภาพจากComในห้องLab ไฟล์2/6
Crude Drugs ภาพจากComในห้องLab ไฟล์3/6
Crude Drugs ภาพจากComในห้องLab ไฟล์4/6
Crude Drugs ภาพจากComในห้องLab ไฟล์5/6
Crude Drugs ภาพจากComในห้องLab ไฟล์6/6
ปล. ไฟล์ติดรหัสผ่าน

Final Destination

Posted by CURXCOM 0 comments


มาถึงภาคที่ 4 กันแล้ว อยากดูมากๆเลยแต่เสียดายที่เข้าช้าไปสักนิดโดนเลื่อนมาฉายวันที่ 3 ก่อนสอบ1วัน ก็ดีเหมือนกันจะได้ดูหลังสอบอย่างสบายใจ 555+ เรื่องนี้หลายคนเคยดูมาแล้วโดยเฉพาะภาค3 ที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีภาคต่อ และหลายคนคงจำไม่ได้ว่าภาค3 มันตั้งแต่ปีไหนกัน ดังนั้นวันนี้จะนำเรื่องราวของภาคก่อนๆมาเกริ่นกันสักนิด

Final Destination ( 2000 ) 7 ต้องตาย โกงความตาย
อเล็กซ์ บราวนิ่ง (เดว่อน ซาว่า) กำลังจะขึ้นเครื่องบินเดินทางไปปารีสเพื่อทัศนศึกษา ร่วมกับเพื่อนนักเรียนไฮสคูลอีก 40 คน ระหว่างที่อยู่บนเครื่อง ขณะรอเทคออฟ อเล็กซ์รู้สึกถึงญาณบางอย่าง มันเป็นภาพลูกไฟดวงใหญ่ ภายหลังจากเครื่องทะยานสู่ท้องฟ้าแล้ว ด้วยความตกใจ เขาตะโกนให้ทุกคนออกจากเครื่องบิน ความโกลาหลทำให้เขาและคนอีก 6 คน ถูกไล่ให้ลงจากเครื่องบิน

ที่ห้องพักผู้โดยสาร อเล็กซ์ และเพื่อนของอันประกอบด้วย บิลลี่ (ฌอน สก็อตต์) และ ท็อดด์ (แชด ดอนเนลล่า) ร่วมด้วย เคลียร์ (อาลี เลเทอร์) หญิงสาวที่ใส่ใจต่อคำเตือนของอเล็กซ์โดยสัญชาตญาณ และสองคู่รัก คาร์เตอร์ (เคอร์ สมิธ) กับ เทอร์รี่ (อแมนด้า เดทเมอร์) ซึ่งตื่นเต้นตามความตระหนกของอเล็กซ์จนเกินไป จนทำให้ต้องถูกระเห็จออกจากเครื่องบินไปด้วย และ คุณครูลิวตัน (คริสเตน โคล้ก) คุณครูผู้อาสาที่จะอยู่เคียงข้างกับนักเรียนที่ถูกไล่ลงจากเครื่อง ได้ร่วมรับรู้ถึงชะตากรรมของเครื่องบิน 747 ลำนั้นอย่างน่าสยดสยอง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจริงตามมโนภาพ ของอเล็กซ์อย่างน่าอัศจรรย์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอเล็กซ์จะช่วยชีวิตผู้โดยสารบางคนได้ แต่วีรกรรมของเขา ถูกมองด้วยความเคลือบแคลงสงสัย ทุกย่างก้าวของเขา ถูกจับตามองโดย FBI อย่างใกล้ชิด อเล็กซ์เริ่มเชื่อว่า บางทีเขากับผู้รอดตาย อาจรอดพ้นความตายในช่วงเวลาอันสั้นเท่านั้น แต่หาได้มีใครเชื่อเขาไม่ อเล็กซ์จะจัดการกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขา ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์สยองขวัญครั้งนั้นอย่างไร ผู้รอดตายที่เหลือจะผจญชะตากรรมอย่างไรบ้าง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้ใน ภาพยนตร์เรื่อง Final Destination

Final Destination 2 ( 2003 ) โกงความตาย...แล้วต้องตาย
หลังจาก เคลียร์ ริเวอร์ส (อาลี ลาเตอร์) เป็นผู้รวดชีวิตเพียงคนเดียว จากเหตุการณ์เที่ยวบิน 180 ที่ยังมีชีวิตอยู่ เคลียร์ที่ถูกกักตัวอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิต ที่เธอได้เลือกที่จะทำเช่นนั้นเพื่อความปลอดภัย ปัจจุบันเธอได้พบว่า ความตายกำลังจะมาเอาชีวิตของเธอ เหมือนที่มันทำกับเพื่อนทุกๆ คนของเธอ เคลียร์อาจจะถูกมองว่าบ้า ความตายกำลังมุ่งสู่ชานเมือง บนถนนสายที่ 23 มุ่งหน้าสู่ทางใต้...

ระหว่างเดินทางไปกับเพื่อนๆ คิมเบอร์ลี่ คอร์แมน (เอ เจ คุ้ก) มองดูรถบรรทุกที่โอนเอียงและเสียการทรงตัว เนื่องจากน้ำหนักบรรทุกที่มากเกิน โดยทำให้เกิดอุบัติเหตุลูกโซ่ที่น่ากลัว ที่ได้ทิ้งร่องรอยของเหล็กและร่างคนตาย รวมถึงตัวเธอเองด้วย ไม่นานหลังจากนั้น คิมเบอร์ลี่พบว่า ตัวเองยังคงติดอยู่ในการจราจร พร้อมด้วยแถวของคนที่เดินทางไปมา เธอได้เห็นวินาทีแห่งความตายก่อน มันเป็นเพียงภาพสังหรณ์ แต่มันเป็นคำเตือนหรือเปล่า ?

ด้วยความตกใจ จึงทำให้เธอต้องทำบางสิ่งบางอย่าง คิมเบอร์ลี่จึงขวางทางรถ ที่กำลังจะมาติดการจราจรบนถนน 23 ขณะเดียวกันกับที่ตำรวจหนุ่ม โทมัส เบิร์ก (ไมเคิล แลนเดส) ก็เดินทางมาถึง คนที่เดินทางเริ่มบีบแตรและโวยวาย... จนกระทั่งภาพเหตุการณ์ที่คิมเบอร์ลี่ได้เห็น ได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงต่อหน้าต่อตาพวกเขา

ความตายได้ทำให้ถนนไฮเวย์ กลายเป็นกองอุบัติเหตุขนาดมหึมา พร้อมกับพวกที่เหลือวิ่งหนีเพื่อเอาตัวรอด แต่คิมเบอร์ลี่รู้ว่ามันยังไม่จบแค่นั้น ความตายไม่สามารถโดนโกงได้ง่ายๆ เช่นนั้น ตอนนี้กลุ่มคนแปลกหน้า ที่คิมเบอร์ลี่เห็นล่วงหน้าว่าพวกเขาต้องตาย ในหายนะบนถนนฟรีเวย์ เคลียร์ต้องร่วมมือกับเธอ ในการแข่งขันกับเวลา และความกลัวของพวกเขาที่น่าตื่นเต้น เพื่อทำในทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด..!

Final Destination 3 ( 2006 ) โกงความตายเย้ยความตาย
เรื่องราวเกิดขึ้น 6 ปี หลังเหตุการณ์ในภาคแรก เมื่อ เวนดี้ (แมรี่ อลิซาเบธ วินสตีด) และเพื่อนๆไปเที่ยวสวนสนุกแห่งหนึ่งและขึ้นรถไฟเหาะตีลังกา The Devil’s Flight อันเลื่องชื่อ เวนดี้เห็นภาพเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าเธอและเพื่อนๆจะประสบอุบัติเหตุตกรถไฟ เหาะ จึงบอกให้ทุกคนลงมาก่อนเหตุร้ายนั้นจะเกิดขึ้นจริง มีเพียง 9 คนที่เชื่อเวนดี้และลงจากเครื่องเล่น ส่วนคนที่ไม่เชื่อก็ยังเล่นต่อไปด้วยความคะนอง และแล้ว...ฝันร้ายก็กลายเป็นจริง เมื่อรถไฟเหาะเกิดอุบัติเหตุตกราง และทุกคนก็กระเด็นออกจากที่นั่งลงมาตายสยอง

การโกงความตายครั้งนี้นำมาซึ่งผลลัพธ์สุดสะพรึง เมื่อเพื่อนๆของเวนดี้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์รถไฟเหาะค่อยๆเสียชีวิตอย่าง สยดสยองและลึกลับไปทีละคน ราวกับเป็นการลงโทษจากยมทูต เวนดี้และ เควิน (ไรอัน เมอร์ริแมน) หนึ่งในเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมจึงต้องช่วยกันหาทางเอาชีวิตรอดก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

และล่าสุดกับ The Final Destination ( 2009 ) โกงตาย ทะลุตาย
ในวันที่ควรจะเต็มไปด้วยสีสันอันสนุกสนานของสนามแข่งรถ นิค โอ’แบนนอน (บ็อบบี้ แคมโป) กลับเห็นภาพล่วงหน้าถึงความหายนะชวนสยอง หลายเหตุการณ์ที่ทำให้รถแข่งหลายคันเกิดชนกัน จนเถ้าติดไฟกระจายสู่อัฒจรรย์และทำให้เพื่อน ๆ ของเขาถึงแก่ความตายอย่างทารุณ จากนั้นชั้นบนพังลงมาทับเขา เมื่อหลุดจากภวังค์ร้าย นิคตกใจกลัวและกล่อมให้แฟนสาว ลอรี่ (แชนเทล แวนแซนเทน) และเพื่อน ๆ เจเนท (ฮาเลย์ เวบบ์) และฮันท์ (นิค ซาโน) ให้กลับ… รอดพ้นไปได้อย่างหวุดหวิดก่อนที่ภาพน่ากลัวที่นิคเห็นจะเกิดขึ้นจริงอย่างโหดร้าย

ด้วยความคิดว่าโกงความตายได้ ทั้งหมดเหมือนได้ต่อเวลาชีวิต แต่โชคร้ายสำหรับนิคและลอรี่ ที่มันเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น การเห็นภาพล่วงหน้าของเขายังดำเนินต่อไป และผู้ที่รอดมาได้ทยอยตายกันไปทีละคน - ในรูปแบบที่ยิ่งสยดสยองขึ้นทุกที - นิคต้องหาคำตอบให้ได้ว่าจะโกงความตายอีกครั้งและตลอดไปอย่างไร ก่อนที่ตัวเขาเองจะต้องลงเอยด้วยจุดจบครั้งสุดท้าย

สุดท้ายหวังว่าภาคนี้จะยังคงสนุกเหมือนภาคที่ผ่านๆมา (เป็นภาคแรกที่จะดูในโรงเลยนะเนี่ย อยากดู3Dจัง)

ที่มา Nangdee

โอเซลทามิเวียร์ (อังกฤษ: Oseltamivir) เป็นAntiviral drug ที่มีฤทธิ์เป็นNeuraminidase Inhibitor ใช้รักษาและป้องกัน (prophylaxis) ไข้หวัดใหญ่ (influenza) เอ และ บี โอเซลทามิเวียร์เป็นยาที่ใช้รับประทาน พัฒนาโดยไกลีด ไซเอนซ์ (Gilead Sciences) และทำตลาดโดยฮอฟฟ์แมน-ลา โรช ในชื่อการค้าว่าทามิฟลู®(Tamiflu®) ยา Oseltamivir มีชื่อการค้าที่มีในประเทศไทย 2 ชื่อ คือ Tamiflu (เม็ดละประมาณ 100กว่าบาท) ของบริษัทโรช และอีกชื่อคือ GPO-A-Flu ขององค์การเภสัชกรรม (เม็ดละประมาณ 70บาท)

กลไกการออกฤทธิ์
โอเซลทามิเวียร์เป็นprodrug ในรูปเกลือฟอสเฟต เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกไฮโดรไลซ์ (hydrolysis) โดยตับเป็นแอคตีพเมตทาโบไลต์ที่มี คาร์บอกซิเลต (carboxylate) อิสระ คล้ายกับ ซานามิเวียร์ (zanamivir) จะออกฤทธิ์เป็น ทรานซิชั่น สเตต (transition state) อะนาลอก อิฮิบิเตอร์ กับเอ็นไซม์นิวรามินิเดส ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

รูปแบบยา
Tamiflu แคปซูลเม็ดละ 75 mg สีเหลือง-ขาว มีตัวอักษรสีน้ำเงินเขียนว่า 75 mg
ส่วน Tamiflu ชนิดยาน้ำแขวนตะกอนจะอยู่ในรูปผงสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน เมื่อผสมน้ำเรียบร้อยแล้วจะได้ความเข้มข้นของยา Oseltamivir 12 mg/ml(Tamiflu)
Dose แนะนำสำหรับสหรัฐอเมริกา
ทามิฟลู® ในรูปแคปซูล 75 มก. และผงยาสำหรับสารละลานแขวนตะกอน 12 มก./มล. แนะนำให้ใช้เพื่อรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามขนาดการใช้ดังนี้

* ทามิฟลู® ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยที่มีอายุ 1 ขวบ ขึ้นไป ที่มีอาการมากกว่า 2 วัน มาตรฐานปริมาณการใช้สำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 13 ปี ขึ้นไป 75 มก.วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน ขนาดการใช้สำหรับเด็กอายุต่างๆ ให้คำนวณตามน้ำหนัก
* ทามิฟลู® ใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐานปริมาณการใช้สำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 13 ปี ขึ้นไป 75 มก.วันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์

การใช้ยาในสตรีมีครรภ์
คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาจัดให้ oseltamivir อยู่ใน pregnancy category C ซึ่งบ่งชี้ว่ายังไม่มีการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินความปลอดภัยของยานี้ใน สตรีมีครรภ์ ดังนั้นการใช้ยานี้จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความ เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยานี้ระหว่างตั้ง ครรภ์รวมถึงเด็กที่เกิดมา

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน โดยปกติจะไม่รุนแรงและจะเกิดอยู่ในช่วง 2 วันแรกของการรักษา การรับประทานยาร่วมกับอาหารจะช่วยการเกิดผลข้างเคียงนี้ ผลข้างเคียงอื่นที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล มีปัญหาเกี่ยวกับหู ตาแดง ผลข้างเคียงในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบยังไม่ทราบเพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ
มีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงต่อจิตประสาท ได้แก่ ประสาทหลอน มีการทำร้ายตนเอง ซึ่งรายงานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในญี่ปุ่น คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาแนะนำให้เฝ้าระวังพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดใน ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้
หากเกิดการแพ้ยาหรือมีผื่นรุนแรง ให้หยุดยาและแจ้งแพทย์ทันที

การเก็บรักษายา
  • เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บยาในอุณหภูมิห้อง
  • เก็บยาให้พ้นจากบริเวณที่ร้อนจัดหรือมีความเปียกชื้น
  • ยาน้ำแขวนตะกอนหลังผสมให้เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่ในช่องแช่แข็ง และควรใช้ให้หมดภายใน 10 วัน
ที่มา MIMS YaandYou





bOOSTer beTa เป็นเวบสำหรับคอmp3โดยเฉพาะ ที่มีให้Searchทันทีที่เข้าไปในเวบโดยใช้ชื่อเพลงหรือศิลปิน หลังจากการค้นหาก็จะแสดงรายชื่อเพลง แล้วสามารถฟังได้ทันทีหรือจะเลือกdownloadก็ทำได้เช่นกัน (แต่ผลการค้นหาไม่ค่อยน่าประทับใจ บางเพลงไม่เกี่ยวข้องกับคำที่ให้ไปก็มีให้เห็นมากกว่าเพลงที่มีชื่อที่ให้ไปอีกนะเนี่ย) หลังจากลองใช้ก็พบว่าบางครั้งก็ใช้เวลาในการเข้าค่อนข้างนาน ข้อเสียอื่นๆที่เจอคือไม่ได้บอกขนาดไฟล์และจำนวนที่ค้นหาได้ ข้อดีคือหน้าเวบดูเรียบง่าย สามารถนำEmbedไปลงที่ต่างๆได้ง่าย การสร้าง Playlists เป็นต้น


ด้านล่างเป็นตัวอย่างไฟล์ที่ embedมาจากเวบนี้




ใบท่องหน้า3-4 เป็นเรื่อง Organic acids, fixed oils, Enzymes, Miscellaneous Products download
ใบท่องหน้า5 เป็นเรื่อง Fats and Waxes download

ใบท่องCrude Drugs หน้า 1 2

CNS Drugs

Posted by CURXCOM Thursday, August 20, 2009 1 comments


เป็นไฟล์เนื้อหาภาษาไทยสำหรับคนที่ต้องการเข้าใจ
อย่างลึกซึ้ง
download: dropbox filesocial

ปล. ไฟล์ติดพาสขอทางเมลเท่านั้น

Privacy Policy Template

Posted by CURXCOM Wednesday, August 19, 2009 0 comments

Privacy Policy for curxcom2.blogspot.com

The privacy of our visitors to curxcom2.blogspot.com is important to us.

At curxcom2.blogspot.com, we recognize that privacy of your personal information is important. Here is information on what types of personal information we receive and collect when you use visit curxcom2.blogspot.com, and how we safeguard your information. We never sell your personal information to third parties.

Log Files
As with most other websites, we collect and use the data contained in log files. The information in the log files include your IP (internet protocol) address, your ISP (internet service provider, such as AOL or Shaw Cable), the browser you used to visit our site (such as Internet Explorer or Firefox), the time you visited our site and which pages you visited throughout our site.

Cookies and Web Beacons
We do use cookies to store information, such as your personal preferences when you visit our site. This could include only showing you a popup once in your visit, or the ability to login to some of our features, such as forums.

We also use third party advertisements on curxcom2.blogspot.com to support our site. Some of these advertisers may use technology such as cookies and web beacons when they advertise on our site, which will also send these advertisers (such as Google through the Google AdSense program) information including your IP address, your ISP , the browser you used to visit our site, and in some cases, whether you have Flash installed. This is generally used for geotargeting purposes (showing New York real estate ads to someone in New York, for example) or showing certain ads based on specific sites visited (such as showing cooking ads to someone who frequents cooking sites).

You can chose to disable or selectively turn off our cookies or third-party cookies in your browser settings, or by managing preferences in programs such as Norton Internet Security. However, this can affect how you are able to interact with our site as well as other websites. This could include the inability to login to services or programs, such as logging into forums or accounts.

AdSense Privacy Policy Provided by JenSense

Overview: Lipids

Posted by CURXCOM Tuesday, August 18, 2009 0 comments


ไขมัน (Lipid) คือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ (water-insoluble) มีหลายชนิด ทั้งสารประกอบไม่มีขั้ว (nonpolar) ละลายน้ำน้อยตลอดจนละลายน้ำมาก พวกที่ละลายน้ำได้มากจะเป็นสารประกอบจำพวกมีขั้ว (polar)

ไขมันบางตัวมีโมเลกุลเป็นเส้นตรง อะลิฟาติก (aliphatic) บางตัวมีวงแหวนเรียก อะโรมาติก (aromatic) บางตัวยืดหยุ่นบางตัวเปราะบาง ลิพิดมีโมเลกุล ส่วนใหญ่เป็นโพลาร์ และมีบางส่วนที่เป็นนอนโพลาร์ ผลคือลิพิดสามารถละลายได้ทั้งในตัวทำละลายที่เป็น โพลาร์ เช่นน้ำ และนอนโพลาร์ เช่นน้ำมัน โมเลกุลเหล่านี้ เราเรียกว่า แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) คือในโมเลกุลเดียวกันมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) และส่วนที่กลัวน้ำ ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ตัวอย่างเช่น คอเลสเตอรอลส่วนที่เป็นโพลาร์ คือ -OH (ไฮดรอกซิล หรือ แอลกอฮอล)

Lipids are a broad group of naturally-occurring molecules which includes fats, waxes, sterols, fat-soluble vitamins (such as vitamins A, D, E and K), monoglycerides, diglycerides, phospholipids, and others. The main biological functions of lipids include energy storage, as structural components of cell membranes, and as important signaling molecules.

Lipids may be broadly defined as hydrophobic or amphiphilic small molecules; the amphiphilic nature of some lipids allows them to form structures such as vesicles, liposomes, or membranes in an aqueous environment. Biological lipids originate entirely or in part from two distinct types of biochemical subunits or "building blocks": ketoacyl and isoprene groups. Using this approach, lipids may be divided into eight categories: fatty acyls, glycerolipids, glycerophospholipids, sphingolipids, saccharolipids and polyketides (derived from condensation of ketoacyl subunits); and sterol lipids and prenol lipids (derived from condensation of isoprene subunits).

FA
-กรดไขมัน (fatty acid) เป็น long chain hydrocarbon C4-36 มีcarboxylate group ในสิ่งมีชีวิตเก็บ FA ในรูปtriacylglycerols (TCA) เรียกอีกอย่างว่า triacylglyceride ซึ่งเป็น ester ของ glycerol กับ FA

Fatty acyls
Fatty acyls, a generic term for describing fatty acids, their conjugates and derivatives, are a diverse group of molecules synthesized by chain-elongation of an acetyl-CoA primer with malonyl-CoA or methylmalonyl-CoA groups in a process called fatty acid synthesis. They are made of a hydrocarbon chain that terminates with a carboxylic acid group; this arrangement confers the molecule with a polar, hydrophilic end, and a nonpolar, hydrophobic end that is insoluble in water. The fatty acid structure is one of the most fundamental categories of biological lipids, and is commonly used as a building block of more structurally complex lipids. The carbon chain, typically between four to 24 carbons long, may be saturated or unsaturated, and may be attached to functional groups containing oxygen, halogens, nitrogen and sulfur. Where a double bond exists, there is the possibility of either a cis or trans geometric isomerism, which significantly affects the molecule's molecular configuration. Cis-double bounds cause the fatty acid chain to bend, an effect that is more pronounced the more double bonds there are in a chain. This in turn plays an important role in the structure and function of cell membranes. Most naturally occurring fatty acids are of the cis configuration, although the trans form does exist in some natural and partially hydrogenated fats and oils.

Examples of biologically important fatty acids are the eicosanoids, derived primarily from arachidonic acid and eicosapentaenoic acid, which include prostaglandins, leukotrienes, and thromboxanes. Other major lipid classes in the fatty acid category are the fatty esters and fatty amides. Fatty esters include important biochemical intermediates such as wax esters, fatty acid thioester coenzyme A derivatives, fatty acid thioester ACP derivatives and fatty acid carnitines. The fatty amides include N-acyl ethanolamines, such as the cannabinoid neurotransmitter anandamide.

กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
กรดไขมันจำเป็น แปลว่าเป็น กรดไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นใช้เองไม่ได้ต้องอาศัยการกินเข้าไป กรดไขมันจำเป็นเป็นส่วนย่อยของไขมันที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายต้องนำมาใช้เพื่อสร้างความสมดุลย์ ความแข็งแรง รวมทั้งการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ต่าง ๆ

กรดไขมันจำเป็น พบได้ในอาหารที่เราบริโภคทุกวัน ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ กรดไขมันจำเป็น มีหลายชนิด แต่ที่เรามักได้ยินและเป็นที่ยอมรับของวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากคือ

- โอเมก้า 3 ( Linolenic หรือ Alpha Linoleic Acid ) น้ำมันปลา ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต ลดการอักเสบ ของโรคไขข้อเสื่อมรูมาตอยด์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนและปวดประจำเดือน เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายและลดอาการของ โรคภูมิแพ้

- โอเมก้า 6 ( Linoleic Acid ) น้ำ มันอีฟนิ่งพริมโรส ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยการลดการแข็งตัวของเลือดด้วย การลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดทำให้หลอดเลือดที่หัวใจเป็นปกติ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ลดการขยาย ตัวของเซลล์มะเร็ง สามารถช่วยบำรุงตับและใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ป้องกันโรคสมอง เสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ โดยลดการแข็งตัวของเยื้อหุ้มเม็ดเลือดแดง ทำให้สมองได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น

- โอเมก้า 9 ( Oleic Acid ) ช่วย ลดระดับคอเรสตอรอล ในเลือด
FAT, OIL
-FAT และ OIL เป็น TCA เหมือนกันต่างกันที่จุดหลอมเหลว FAT เป็นของแข็งหรือกึ่งแข็งที่อุณหภูมิห้อง OIL เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
-ถูกsaponifyด้วยaqueous alkaliหรือ alcoholic alkali ก็ได้

WAX
-esterของmonohydric aliphatic alcohols เรียกง่ายๆว่า long chain alcohols กับ saturated หรือ unsaturated fatty acids
-ถูกsaponifyด้วย strong alcoholic alkali เท่านั้น


*Saponification เป็นปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสไขมันและน้ำมันด้วยเบส เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากไขมันและ น้ำมันกับด่าง เกิดเกลือของกรดไขมัน (สบู่) กับกลีเซอรอล

Saponification is the hydrolysis of an ester under basic conditions to form an alcohol and the salt of a carboxylic acid (carboxylates). Saponification is commonly used to refer to the reaction of a metallic alkali (base) with a fat or oil to form soap. Saponifiable substances are those that can be converted into soap.




ครั้งที่่ 1 180852
source
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Lipid
3. http://variety.teenee.com/science/14869.html
4. http://en.wikipedia.org/wiki/Saponification

Crude drugs'52 part1 (with pictures)

Posted by CURXCOM Monday, August 17, 2009 4 comments



Crude drugs ชุดที่1 แต่คงไม่ทำชุด2 แล้วนะเพราะคงทำไม่ทัน

ขอขอบคุณซินที่ให้ยืมกล้องในการถ่ายรูปด้วย


download
แก้ไขวันที่230852 โหลดที่นี่
ใบท่องCog p.2 ฉบับแก้ไข download


Chapter1: Stages of Sleep
- Wakefullness
- NREM Sleep: Stage 1 ไม่เกิดความฝัน ความคิดล่องลอย
- NREM Sleep: Stage 2 ท่าทางเหมือนหลับ แต่ผู้นอนอาจอ้างว่ายังตื่นอยู่
- NREM Sleep: Stage 3 หลับลึก
- NREM Sleep: Stage 4 หลับลึก
- REM Sleep

5 Stages of Sleep:
Stage 1 is the initial stage of sleep where a person does not drift into very deep sleep directly and they can easily be woken up. In this stage, the body is naturally relaxing and even the muscles are easing out their tension. Sometimes, in this stage people feel as though they are falling because the muscles relax completely. Even eyes move very slowly during this stage.

In stage 2, the eyes and muscle movements slow down and the brain waves become slow or active depending on the type of sleep cycle. The brain waves when graphically represented shows sudden outbursts. This phase actually continues into the next stage also.

During stage 3 the brain waves alternate between slow and fast movements. The slower brainwaves are called the delta waves.

During the fourth stage the slower brain waves are more in number. During stages 3 and 4 the body slows down entirely and there are very less movements. This can be called a phase of deep sleep.

The REM level, which is the fifth and final stage of sleep, is the deepest form of sleep. This stage is characterized by rapid movement of the eyes, as the name suggests. 

REM or Paradoxical Sleep
เริ่มประมาณ 60-90 นาที หลังเริ่มเข้าสู่การนอนใน NREM stage 1
มีการกระพริบตาถี่เร็ว rapid eye movements
กล้ามเนื้อลายคลายตัวมาก
การหายใจและการเต้นของหัวใจแรง เร็ว
คลื่นไฟฟ้าสมองความถี่สูง ไม่สอดคล้องกัน
เกิดความฝัน

ความสำคัญของ REM Sleep
การขาดREM --> มึนงง ขาดสมาธิ ความจำบกพร่อง
                       สั่น กระวนกระวาย วิตกกังวล
                       อยากอาหารมากขึ้น
REM sleep เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ
การเรียนรู้เพิ่ม REM sleep
การขาด REM sleep ทำให้การเรียนรู้ด้านทักษะบกพร่องแต่ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ข้อเท็จจริง


A general anaesthetic (or anesthetic) drug is an anaesthetic drug that brings about a reversible loss of consciousness. These drugs are generally administered by an anesthesia provider in order to induce or maintain general anaesthesia to facilitate surgery.

หลักการให้ยาสลบ
ประกอบด้วย5องค์ประกอบสำคัญ
1. หมดสติ (unconsciousness)
2. หลงลืมชั่วคราว (amnesia)
3. ไร้ความเจ็บปวด (analgesia)
4. หมดการเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อคลายตัว (immobility, muscle relaxation)
5. ลดการตอบสนองของประสาทอัตโนมัติ

Mode of administration
Drugs given to induce or maintain general anaesthesia are either given as:

    * Gases or vapors (inhalational anaesthetics) ยาดมสลบ
    * Injections (intravenous anaesthetics) ยาฉีดสลบ

Most commonly these two forms are combined, with an injection given to induce anaesthesia and a gas used to maintain it, although it is possible to deliver anaesthesia solely by inhalation or injection.

ยาดมสลบ (Inhalational Anesthetics) ให้โดยการinhalation through the lungs. Vapors are administered by anesthesia machine.    (คงระดับการสลบ)
Nitrous oxide
Halothane, Isoflurane, Desflurane, Enflurane, Sevoflurane

กลไก
Alterations of physiochemical properties of nerve membranes
- Linear relationship between potency and solubility in lipid
- ระดับเนื้อเยื่อ ลดสมรรถนะเซลล์ประสาทในส่วนต่างๆของสมอง ขึ้นกับระดับยาสลบ
  - Substantia gelatinosa ลดการรับรู้ความเจ็บปวด
  - Reticular activating system ทำให้นอนหลับ หมดสติ
  - Medulla กดระบบการหายใจและระบบหัวใจหลอดเลือด
- ระดับโมเลกุล ลดการซึมผ่านเข้าเซลล์ของsodium

1.Lipid-based theory ละลายในเยื่อหุ้มเซลล์และบิดเบือนโครงร่าง sodium channel บนเยื่อหุ้มเซลล์
2.Protein-based theory จับกับตำแหน่งจำเพาะบนโปรตีนในเยื่อหุ้มเซลล์

ยาฉีดสลบ (Intravenous Anesthetics) ให้โดยinject directly into the vein to produce unconsciousness. --> Bolus injection, Continuous injection    (ใช้ในการนำสลบ)
- Barbiturates (Ultra-Short Acting): Thiopental
- Non-barbiturates
  - Benzodiazepines (Midazolam)
  - Opioids (Fentanyl)
  - Ketamine, Propofol, Etomidate
กลไก
Probably involves intense CNS depression produced secondary to facilitation of GABA A receptor activity and to depression of excitatory glutamate synaptic transmission.

Balanced Anesthesia
ใช้ยาหลายประเภทร่วมกัน เพื่อให้เกิดการสลบที่สมบูรณ์ มีองค์ประกอบทั้งห้าครบถ้วน
ยาที่ใช้ร่วมบางตัวอาจได้เพียงองค์ประกอบเดียวเมื่อใช้เดี่ยว
การใช้ยาร่วมกันทำให้ขนาดยาที่ใช้แต่ละตัวลดลง ลดผลไม่พึงประสงค์



CNS Depressants
1. General anesthetics ยาสลบ
2. Sedative-Hypnotics ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ
3. Anxiolytics ยาคลายกังวล
4. Antiepileptics ยาต้านลมชัก
5. Antipsychotics ยาต้านโรคจิต
6. Narcotic analgesics ยาระงับปวดชนิดเสพติด

CNS Stimulants
1. Antidepressants ยาต้านซึมเศร้า
2. Analeptics ยากระตุ้นการหายใจ
3. Anorexic drugs ยาเบื่ออาหาร
4. Psychostimulants ยากระตุ้นจิตอารมณ์

Rheology

Posted by CURXCOM Saturday, August 15, 2009 0 comments


เอกสารอ่านเพิ่มความรู้เรื่อง Rheology ประกอบด้วย Rheology(TH), The Origins of Rheology(EN)
download: dropbox

ไฟล์ติดpass ทิ้งชื่อไว้ที่commentด้านล่างหรือส่งเมลโดยกดที่email this แล้วส่งเมลไปที่

ใบท่องCog เรื่อง Quinoline, Isoquinoline, Tropane and Imidazole alkaloids


download: filetwt

liveแสดงปิดท้ายของเพลงนี้โดยสาวๆSNSD (ลองทดสอบไฟล์จากdrop.io)

         

download: filetwt

ชอบจัง MVนี้น่ารักมากมาย


เนื้อเพลง เสียดาย
BodySlam
คำร้อง สีฟ้า
ทำนอง กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา

ท้องฟ้ามันครึ้ม มันครึ้มออกอย่างนี้
มันเหงาทุกทีที่ได้มอง ใจมันหาย
เสียงฟ้ามันร้อง หยาดฝนหล่นเป็นสาย
ยิ่งหวั่นไหว ยิ่งทำให้สับสน

นึกถึงคนที่เคย
คนที่เคยอยู่ตรงนี้ นึกถึงทุกทุกที ที่เห็นฟ้าที่กว้างใหญ่
นึกถึงบางคน ที่รักเสมือนดวงใจ ที่เพิ่งจากไป
เสียดาย… ที่วันนี้ไม่มีเธอแล้ว...

ถึงรู้แก่ใจ ว่าคงได้แต่ฝัน ก็จะฝันรอคอยมันเรื่อยไป
อยู่อย่างนั้น ใจยังจดจำ เมื่อเธออยู่กับฉัน
ได้แค่ฝัน ก็ยังเปี่ยมด้วยความหมาย

นึกถึงคนที่เคย คนที่เคยอยู่ตรงนี้
นึกถึงทุกทุกที ที่เห็นฟ้าที่กว้างใหญ่
นึกถึงบางคน ที่รักเสมือนดวงใจ ที่เพิ่งจากไป
เสียดาย… ที่วันนี้ไม่มีเธอ

อยากจะทำ ทุกสิ่ง อยากจะทำ ทุกอย่าง
หากจะพอมีหวัง ให้คืนวันมันย้อนไป
คืนวันที่ดี อยากจะมีเธอข้างกาย ให้เหมือนเดิมอีกครั้ง

อยากจะทำ ทุกสิ่ง อยากจะทำ ทุกอย่าง
หากจะพอมีหวัง ให้คืนวันมันย้อนไป
คืนวันที่ดี อยากจะมีเธอข้างกาย ให้เหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง

CHORUS
อยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างวันนั้น อยากขอให้เป็นดังเดิมทุกอย่าง
อยากขอให้เป็นไปอย่างที่หวัง ให้เหมือนเดิมอีกครั้ง
ให้เหมือนเดิมอีกครั้ง..

อยากจะทำ ทุกสิ่ง อยากจะทำ ทุกอย่าง
หากจะพอมีหวัง ให้คืนวันมันย้อนไป
คืนวันที่ดี อยากจะมีเธอข้างกาย ให้เหมือนเดิมอีกครั้ง

อยากจะทำ ทุกสิ่ง อยากจะทำ ทุกอย่าง
หากจะพอมีหวัง ให้คืนวันมันย้อนไป
คืนวันที่ดี อยากจะมีเธอข้างกาย ให้เหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง

CHORUS
อยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างวันนั้น อยากขอให้เป็นดังเดิมทุกอย่าง
อยากขอให้เป็นไปอย่างที่หวัง ให้เหมือนเดิมอีกครั้ง
อยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างวันนั้น...

FiSH a FiSH Beta

Posted by CURXCOM 1 comments

Fish a Fish เกมส์ยอดนิยมบน facebook
มันเกมส์จับปลาที่ไม่ธรรมดา ภายในเกมส์คุณจะได้ตกปลาเสมือนจริง สามารถเลือกซื้อเบ็ด เหยื่อ อุปกรณ์ตกปลาต่างๆ ไปจนถึงแต่งตัวละครของเรา ตัวเกมส์จะเป็นการจับปลาเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆเพื่อผ่านด่านต่อไป ไปจับปลาที่หลากหลายกว่า นอกจากนั้นปลาที่เราจับมาได้เราอาจนำมาเลี้ยงไว้ในตู้เพื่อโชว์ให้เพื่อนๆ เห็นถึงความสามารถของเรา เราสามารถแต่งตู้ปลาน่ารักๆเหมือนเลี้ยงปลาไว้จริงๆ หากไม่เอาใจใส่ก็อาจมีตะไคร่น้ำขึ้นได้ ระวังปลาตายด้วยนะ (อิอิ)


ตัวละครของเราจะมีค่าซึ่งเกี่ยวกับการตกปลาอยู่ 4 ค่าคือ
Strengh กำลังในการเหวี่ยงเบ็ด 555+
Luck ยิ่งมากยิ่งทำให้เราเจอปลาหายาก
Skill ทำให้เราจับปลาง่ายขึ้น
Accuracy ทำให้เราจับปลาง่ายขึ้น













ภาพตู้ปลา
ลองไปดูการจับปลากัน





กดคีย์ตามจังหวะ






จับได้แร้นๆๆๆๆ

กลายมาเป็นปลาในตู้ จะขายก็ได้นะ ^^
ที่เหลือก็คงต้องลองเล่นกันเองดูแล้วล่ะ สัปดาห์นี้ลาไปก่อน พบกานใหม่สัปดาห์หน้าน้า จุบุ จุบุ

เล่าโดย BanK


ข้อ 51    A. Amine
ข้อ 52    D. เก็บตัวเงียบ ไม่พูดกับใคร อารมณ์เฉื่อยชา
ข้อ 53    D. ความแรงยาในการรักษาของยาต้านโรคจิตเภทส่วนใหญ่สัมพันธ์กับฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับ alpha-adrenoceptor
ข้อ 54    D. Dopamine D2 antagonist
ข้อ 55    A. Mesolimbic pathway
ข้อ 56    D. การปิดกั้นตัวรับ dopamine
ข้อ 57    A. การปิดกั้นตัวรับ muscarinic
ข้อ 58    D. น้ำลายไหลมาก
ข้อ 59    B. อาการอยู่ไม่สุขอย่างควบคุมไม่ได้ (akathisia) ในผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต มักจะลดลงได้โดยการเพิ่มขนาดยาที่ใช้
ข้อ 60    C. การรักษากลุ่มอาการขาดประจำเดือน-น้ำนมคัด (amenorrhea-galactorrhea)
ข้อ 61    B. ยาทั้งสองตัวออกฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับของ dopamine และ serotonin
ข้อ 62    A. ลดอาการผู้ป่วยได้ทั้ง positive และ negative symptoms
ข้อ 63    E. ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 64    C. depression และ mania
ข้อ 65    B. ยับยั้งการนำกลับ (reuptake) ของสารสื่อประสาทชนิด monoamine
ข้อ 66    A. ผลทางเภสัชวิทยาและผลรักษาเกิดขึ้นรวดเร็วหลังเริ่มใช้ยา
ข้อ 67    D. ถูกทั้งข้อ A, B และ C
ข้อ 68    E. ถูกทั้งข้อ B และ C
ข้อ 69    B. Tyramine
ข้อ 70    A. เป็น MAO-A inhibitor อย่างเดียว
ข้อ 71    B. มี therapeutic index ต่ำ
ข้อ 72    C. ต้องเพิ่มขนาด lithium ในผู้ป่วยซึ่งรับประทานยาขับปัสสาวะ
ข้อ 73    A. อาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง
ข้อ 74    B. Cocaine ออกฤทธิ์สั้นกว่า amphetamines
ข้อ 75    B. ยับยั้ง reuptake ของ catecholamines กลับเข้าปลายประสาท
ข้อ 76    D. Serotonin

Dota Maps Latest updates 140852

Posted by CURXCOM Friday, August 14, 2009 0 comments

รวมmapsล่าสุด ถึงวันที่140852

Crude Drugs AP version RC120852 page 1

Posted by CURXCOM Wednesday, August 12, 2009 0 comments

ใบท่องCog เรื่อง Protoalkaloids, Pyridine and Piperidine, Indole Alkaloids

โหลดได้หลายhost อันไหนเสียแจ้งทีนะ
FILETWT
dropbox total:

ข้อ 21 C. Barbiturates และ benzodiazepines
ข้อ 22 C. GABAA receptor
ข้อ 23 B. ยาเองหรือสาร active metabolite(s) ของมันมี half-life ยาว
ข้อ 24 C. ความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดเสริมจมูก
ข้อ 25 D. ลดสมรรถนะของระบบเอนซัยม์ทำลายยา
ข้อ 26 E. Benzodiazepine ไม่ทำให้ผู้ใช้ยามีอาการหลงลืม
ข้อ 27 D. ยาถูกเอ็นซัยม์ที่ตับทำลายได้เร็วขึ้น
ข้อ 28 C. Serotonin (5-HT) receptor
ข้อ 29 B. Buspirone ไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดยา (drug dependence)
ข้อ 30 E. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 31 D. Chlorpromazine
ข้อ 32 E. การรักษาอาการนอนไม่หลับหรือความวิตกกังวลด้วยยาเป็นวิธีที่ดีที่สุดและควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในทุกกรณี
ข้อ 33 E. ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 34 D. ถูกทั้งข้อ A, B และ C
ข้อ 35 A. Grand mal seizures
ข้อ 36 B. Diazepam ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
ข้อ 37 D. Phenytoin
ข้อ 38 C. ผู้ป่วยโรคลมชักที่เป็นหญิงควรงดใช้ยาต้านลมชักระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันพิษของยาต่อทารก
ข้อ 39 C. Dopaminergic neurons ในสมองส่วน nigrostriatal pathway
ข้อ 40 E. ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 41 D. เพิ่ม dopaminergic neurotransmission
ข้อ 42 B. เป็น immediate precursor ของ dopamine
ข้อ 43 D. Levodopa ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงเป็น dopamine ที่เนื้อเยื่อต่างๆ นอกสมอง
ข้อ 44 E. ถูกทั้งข้อ B และ C
ข้อ 45 E. ยับยั้งการเปลี่ยนแปลง levodopa เป็น dopamine ที่เนื้อเยื่อนอกสมอง
ข้อ 46 A. ป้องกันการเกิด free radicals ซึ่งมีพิษและเป็นผลพลอยได้จากการทำลาย dopamine
ข้อ 47 A. Cholinergic neurons จาก septum ไปยัง hippocampus
ข้อ 48 B. เนื้อสมองมี neurofibrillary tangles และ senile plaque มากกว่าปกติ
ข้อ 49 B. อาการทางจิตอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ซึมเศร้า ประสาทหลอน พฤติกรรมก้าวร้าว
ข้อ 50 D. Cholinergic antagonists



ข้อ 11    E. ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 12    D. ยับยั้งการสังเคราะห์สารสื่อประสาทในปลายประสาท
ข้อ 13    C. Neurological disorders
ข้อ 14    B. กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
ข้อ 15    C. Halothane
ข้อ 16    C. การกระจายย้อนกลับ (redistribution) สู่เลือดเกิดอย่างรวดเร็ว
ข้อ 17    E. สมอง
ข้อ 18    C. Blood : Gas partition coefficient
ข้อ 19    A. ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะการสลบที่ราบรื่นสมบูรณ์สำหรับการผ่าตัด โดยการใช้ยาต่างๆ ร่วมกันหลายตัวทั้งก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด
ข้อ 20    C. Terminal insomnia

Glial cell

Posted by CURXCOM 0 comments


เซลล์เกลีย (glial cell) หรือ นิวโรเกลีย (neuroglia) หรือ เกลีย (glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนานเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว

Glial cells, commonly called neuroglia or simply glia (Greek for "glue"), are non-neuronal cells that provide support and nutrition, maintain homeostasis, form myelin, and participate in signal transmission in the nervous system. In the human brain, there is roughly one glia for every neuron with a ratio of about two neurons for every three glia in the cerebral gray matter. Glial cells provide support and protection for neurons, the other main type of cell in the nervous system. As the Greek name implies glia are commonly known as the glue of the nervous system, although this is grossly inaccurate; rather, it is more of a partner to neurons. The four main functions of glial cells are to surround neurons and hold them in place, to supply nutrients and oxygen to neurons, to insulate one neuron from another, and to destroy pathogens and remove dead neurons. They also modulate neurotransmission.

4 cell types in CNS: astrocytes, oligodendrocytes, microglia, ependymal

แอสโทรไซต์
แอสโทรไซต์ (astrocyte) หรือ แอสโทรเกลีย (astroglia) เป็นเซลล์เกลียที่มีจำนวนมากที่สุด แอสโทรไซต์ช่วยควบคุมปริมาณสารเคมีต่างๆ ที่อยู่รอบเซลล์ประสาท เช่น กำจัดโพแทสเซียมไอออนที่มีอยู่มากในสารละลายภายนอกเซลล์ ตลอดทั้งช่วยดูดกลับสารสื่อประสาทที่ถูกหลั่งในระหว่างการส่งสัญญาณประสาทผ่านไซแนปส์ แอสโทรไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดโปรโตพลาสมิค และชนิดไฟบรัส ทั้งสองชนิดมีการทำงานที่คล้ายคลึงกันแต่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและ ตำแหน่งที่พบเซลล์เหล่านี้ที่แตกต่างกัน แอสโทรไซต์ชนิดโปรโตพลาสมิคมีเส้นใยที่มีขนาดหนา สั้น แต่มีกิ่งก้านเยอะ พบเซลล์ประเภทนี้ได้มากที่ชั้นเนื้อเทา (gray matter) สำหรับแอสโทรไซต์ชนิดไฟบรัสนั้นมีเส้นใยที่เรียวยาว และมีการแตกกิ่งค่อนข้างน้อย พบเซลล์ประเภทนี้ได้มากที่เนื้อขาว (white matter)

โอลิโกเดนโดรไซต์
โอลิโกเดนโดรไซต์ (oligodendrocyte) เป็นเซลล์ที่สร้างเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ห่อหุ้มแอกซอนที่อยู่ในระบบประสาทกลาง เยื่อไมอีลินนี้เป็นส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ของโอลิโกเดนโดรไซต์ที่ไปล้อมรอบแอกซอนทำให้เกิดเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นผลให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ไมโครเกลีย
ไมโครเกลีย (microglia) เป็นเซลล์แมคโครฟาจ (macrophage) ชนิดพิเศษที่สามารถเกิดกระบวนการการกลืนกินของเซลล์ (phagocytosis) ได้ เชื่อว่าไมโครเกลียนี้เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในระบบเลือดมากกว่าเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในชั้นเอ็กโทเดิร์ม (ectoderm) แต่ที่ไมโครเกลียถูกจัดอยู่ในเซลล์ระบบประสาทเนื่องจากช่วยเหลือการทำงานของเซลล์ประสาท จำนวนไมโครเกลียในระบบประสาทส่วนกลางมีประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนเซลล์ทั้งหมด สามารถพบเซลล์ชนิดนี้ได้ในสมองและไขสันหลังทุกบริเวณ หากเนื้อเยื่อดังกล่าวถูกทำลายไมโครเกลียก็จะแบ่งตัวเพิ่มขึ้นและเคลื่อนที่ไปยังบริเวณดังกล่าว

เซลล์อีเพนไดมา
เซลล์อีเพนไดมา (ependymal cell) หรือ อีเพนไดโมไซต์ (ependymocyte) เป็นเซลล์ที่อยู่ที่ผนังช่องว่างที่บรรจุน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid; CSF) ภายในระบบประสาทส่วนกลาง

2 cell types in PNS: Schwann and satellite cells

เซลล์ชวานน์
เซลล์ชวานน์ (Schwann cell) ทำหน้าที่คล้ายกับโอลิโกเดนโดรไซต์ที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน ต่างกันที่เซลล์ชวานน์นี้ทำหน้าอยู่ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดการกลืนกินของเซลล์ ช่วยในการจัดเก็บองค์ประกอบของเซลล์ที่เสียแล้วซึ่งจำเป็นในการเจริญของ เซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนปลาย

เซลล์แซทเทลไลท์
เซลล์แซทเทลไลท์ (Satellite cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็กที่เกาะอยู่ที่ผิวของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนปลายซึ่ง ทำหน้าที่ช่วยปรับสภาพองค์ประกอบทางเคมีภายนอกเซลล์

source
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Glial_cell
3. http://www.ninds.nih.gov/disorders/brain_basics/ninds_neuron.htm

Dota Clip part 2

Posted by CURXCOM 1 comments

ผลงานชั้นเยี่ยมของ NumbFaith ดูกี่ครั้งก็สนุก (เขาเป็นคนทำคลิปนะไม่ใช่คนเล่น)

1. [DotA] Perceptive Play 1 by slahser @NumbFaith



2. [DotA] Perceptive Play 2 by NumbFaith



3. [DotA] Perceptive Play 5 by slahser @NumbFaith



ข้อ 1 B. สมอง และไขสันหลัง
ข้อ 2 C. เซลประสาท และเซลค้ำจุน (glial cells)
ข้อ 3 D. เป็นการส่งสัญญานที่อาศัยสารเคมีเป็นตัวนำสัญญาน
ข้อ 4 D. ถูกหมดทุกข้อ
ข้อ 5 B. Inhibitory control system ถูกยับยั้ง
ข้อ 6 A. Glutamate
ข้อ 7 B. Gamma-aminobutyric acid (GABA)
ข้อ 8 E. Triglyceride
ข้อ 9 C. สารสื่อประสาทกระตุ้น receptor บน cell membrane ซึ่งเป็นทั้ง binding site และเอ็นซัยม์ tyrosine kinase ด้วย แล้วจึงเกิดผล
ข้อ 10 D. ถูกทั้งข้อ A และ B

มาเม้นกันน่อยก้อดีนะ จาได้ทำต่อ

Steroidal Alkaloids

Posted by CURXCOM Sunday, August 9, 2009 0 comments

เอาบทความเกี่ยวกับ steroidal alkaloids มาฝาก

Steroidal Alkaloids: Double carbon ring containing one nitrogen atom (N), plus a steroid backbone composed of four carbon rings. Steroidal alkaloids contain a tetracyclic (4-ring) triterpene compound called the steroid nucleus or steroid backbone. Because some steroidal alkaloids contain a sugar molecule, they are also referred to as alkaloidal glycosides (sugar + steroidal alkaloid).

Steroidal Alkaloids มีbiosynthesis จากisoprene 6 unitsและมี Nเข้ามารวมในขั้นตอนของการสังเคราะห์เป็นอัลคาลอยด์ พบมากในพืชวงศ์ Apocynaceae, Buxaceae, Liliaceae และ Solanaceae


1. Diterpenoid and steroidal alkaloids

2. 2.0 STEROIDAL ALKALOID

3. The Alkaloids โดย Geoffrey A. Cordell หน้า187


source: http://waynesword.palomar.edu/chemid2.htm#alkaloids

ค้นหาจาก Google

10 บทความล่าสุด